บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

ระบบ SCADA

ระบบ SCADA ใช้ระบบการสื่อสาร SCADA ควบคุมการสั่งการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ OCC              ชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวในโครงการศึกษาดูงาน ระบบการป้องกันอัคคีภัยและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของ รฟม. จัดโดยคณะกรรมการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าการดำเนินงานของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินได้ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยเป็นอย่างมาก มาตรฐานการออกแบบก่อสร้างและมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในโครงการมีความเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งเชื่อว่าเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้ ตัวอุปกรณ์ที่ติดตั้งในโครงการได้รับการควบคุมจากศูนย์ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า OCC (Operator Control Center) โดยคำสั่งต่างๆ จะถูกสั่งการจากคอมพิวเตอร์ในระบบ OCC ทั้งหมด รวมถึงการเปิด-ปิดประตูรถไฟฟ้าด้วย เพราะพนักงานขับรถที่ประจำอยู่ในรถไฟฟ้าแต่ละขบวนนั้นมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนถ่ายอพยพผู้โดยสารเท่านั้น           ในการสั่งการหรือ Command ต่างๆ ต้องอาศ
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ (Railway signalling system) เป็นระบบกลไก สัญญาณไฟ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ในการเดินขบวนรถไฟเพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ หรือควบคุมรถไฟให้การเดินขบวนเป็นไปตามที่กำหนดไว้กรณีที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบคอมพิวเตอร์ ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจะควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ และระยะเวลาในการเดินรถ ของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกัน รวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ให้เกิดความสับสน. 4 ความสัมพันธ์:  การรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟ สถานีรถไฟ คอมพิวเตอร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟ รถไฟ รถไฟความเร็วสูงของประเทศเยอรมนี (อีเซเอ) รถไฟ (Train) เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดย

ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ

รูปภาพ
ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ  หรือ ( อังกฤษ :  Railway Electrification System ) เป็นการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟหรือรถราง เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวน การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีข้อดีเหนือกว่าระบบให้พลังงานอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนหัวรถจักร แต่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการติดตั้ง ในบทความนี้ "ระบบ" หมายถึงการกำหนดค่าทางเทคนิคและรายละเอียดทางเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้น "เครือข่าย" หมายถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของระบบที่มีการติดตั้งจริงในสถานที่ติดตั้ง ลักษณะของการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถไฟ กระแสไฟฟ้าให้พลังงานฉุดรถไฟ ซึ่งอาจใช้หัวรถจักรไฟฟ้าเพื่อลากตู้ผู้โดยสารหรือตู้สัมภาระหรือเป็นรถไฟที่ประกอบด้วยตู้ที่มีเครื่องยนต์ไฟฟ้าหลายตู้ ที่ซึ่งแต่ละตู้โดยสารรับกระแสไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งหัวรถจักร พลังงานจะถูกสร้างขึ้นในโรงผลิตเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสามารถ optimize ได้ พลังงานไฟฟ้าจะถูกลำเลียงไปยังรถไฟตามสายส่งแล้วกระจายภายในเครือข่ายทางรถไฟไปให้รถไฟตามที่ต่างๆ โดยปกติจะมีระบบภายในในการจัดจำห

ส่วนประกอบของรถไฟ

รูปภาพ
ส่วนประกอบของรถไฟ  รถไฟดีเซล รถไฟดีเซล คือ รถจักรที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องต้นกำลัง และมีเครื่องอุปกรณ์ สำหรับส่งหรือถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์ ไปหมุนล้อ เพื่อขับเคลื่อนตัวเอง และลากจูงรถพ่วง รถจักรดีเซลประกอบด้วย ๑. โครงประธาน และลำตัว ทำหน้าที่รับตัวเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนโครงพื้นซึ่งวางลงบนล้อโดยตรง หรือลงบนแคร่โบกี้ ภายในแบ่งออกเป็นห้องขับ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นทางข้างหน้าถนัด และห้องเครื่องซึ่งมีเครื่องยนต์ และเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ๒. ตัวเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นเครื่องต้นกำลังจะติดตั้งอยู่บนรถที่ห้องเครื่อง ๓. อุปกรณ์เครื่องถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ ซึ่งถ่ายทอดกำลังมาขับล้ออีกต่อหนึ่งด้วยระบบต่างๆ ระบบถ่ายทอดกำลังที่มีใช้กันในรถจักรดีเซล คือ ๑. ระบบไฟฟ้า รถจักรที่ใช้วิธีการถ่ายทอดกำลังด้วยระบบไฟฟ้า เรียกว่า รถจักรดีเซลไฟฟ้า (diesel electric locomotive) มีเครื่องถ่ายทอดกำลังประกอบไปด้วย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) และเครื่องยนต์ไฟฟ้าฉุดลากเพื่อการหมุนล้อ (traction motor) วิธีนี้ ตัวเครื่องยนต์ดีเซลจะขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้จำหน่ายกระแสไฟฟ้า ป้

ส่วนประกอบของรางรถไฟ

รูปภาพ
ส่วนประกอบของราง          ประแจ (รถไฟ)        ประแจ  ( อังกฤษ : railroad switch, turnout) เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไว้ที่รางรถไฟสำหรับให้รถไฟเดินเบี่ยงจากทางเดิมได้เมื่อต้องการ ประแจสามารถควบคุมได้ด้วยคันกลับที่ตัวประแจ สายลวดดึงรอก หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้ ประแจมีได้ทั้งแบบประแจเบี่ยงเลี้ยว ประแจเบี่ยงรูปสองง่าม หรือประแจทางตัด ประแจอย่างง่าย ๆ เริ่มต้นจากทางรถไฟตรงปกติ เมื่อต้องการทำทางเลี้ยวไปด้านขวา ก็จะตัดส่วนหนึ่งของราวเหล็กด้านขวาออก ด้านหนึ่งต่อราวเหล็กให้โค้งออกไปตามแนวเบี่ยง อีกด้านต่อราวในแนวหักมุม เรียกมุมหักนี้ว่าตะเฆ่ (frog) ด้านในของประแจจะมีราวเหล็กสองอัน อันหนึ่งโค้ง อันหนึ่งตรง ต่อกับจุดหมุนตรงตะเฆ่ เรียกว่ารางลิ้น (point blades) เมื่อกลไกกลับประแจดึงให้ราวโค้งชิดซ้าย (ตามรูป) ก็จะทำให้รถไฟสามารถแล่นไปทางขวาได้ ในทางกลับกันถ้ากลับประแจให้ราวตรงชิดขวา ก็ทำให้รถไฟเดินตรงไปตามปรกติ     หลักการทำงาน     เนื่องจากรถไฟ (รถจักร และรถพ่วง ตลอดจนยานยนต์ราง) ต้องอาศัยราวเหล็กทั้งสองข้างของรางรถไฟช่วยบังคับล้อให้เคลื่อนไปในทิศทางที่เหมาะสม [1] โดยมีครีบล้อ (หรือบังใบล้อ) ซึ